กระดาษวัดค่าแอมโมเนียในอากาศ แบบม้วน (ยาว 4.5 เมตร/กล่อง) ช่วงของค่าเทียบสี [0] [5] [10] [20] [50] [100] ppm.
Directions : วิธีการใช้งาน
These test strips are to determine ppm of
ammonia in the air. Tear off a 1 inch strip of paper,
wet it with 1 or 2 drops of distilled water shake off
excess and expose for 15 seconds in air being tested.
Compare with color chart. If color change matches
100 ppm color sample in less than 15 seconds the
reading is higher than 100 ppm. Caution : if paper
color from moistening alone, use fresh neutral
distilled water.
กระดาษวัดนี้ออกแบบมาเพื่อใช้วัดไอแอมโมเนียที่เจือปน
อยู่ในอากาศอย่างคร่าว ๆ โดยมีช่วงการวัดตั้งแต่ 0 - 100
ppm. โดยดูการเปลี่ยนสีของกระดาษโดยเทียบกับสีมาตรฐาน
ข้างกล่อง วิธีการใช้งานคือให้ฉีกกระดาษนี้ออกมาสัก 1 นิ้ว
หยดน้ำกลั่นลงไปสัก 1 - 2 หยด จากนั้นสะบัดให้หมาด ๆ ให้
กระดาษนี้สัมผัสกับอากาศในบริเวรนั้นหรืออากาศที่ต้องการวัด
สัก 15 วินาที แล้วดูการเปลี่ยนสีของกระดาษเทียบกับสีข้าง
กล่อง แต่ถ้าหากว่าการเปลี่ยนสีของกระดาษเปลี่ยนเป็นสีที่
100 ppm. ในระยะเวลาที่เร็วมากหรือน้อยกว่า 15 วินาที อันนี้
วิเคราะห์ได้ว่าอากาศในบริเวณนี้หรืออากาศที่กำลังวัดมี
ปริมาณแอมโมเนียในอากาศเกินกว่า 100 ppm.
ข้อพึงระวัง : หากนำกระดาษจุ่มน้ำแล้ว หรือนำน้ำพรมลงบนกระดาษแล้ว กระดาษเปลี่ยนสีทันที นั่นหมายถึงน้ำที่นำมาพรมนี้ไม่บริสุทธิ์ จำเป็นต้องใช้น้ำกลั่นบริสุทธิ์หรือน้ำ DI หรือน้ำ RO
ก๊าซแอมโมเนียเป็นก๊าซที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมทำความ
เย็น, หล่อเย็น ก๊าซแอมโมเนียเป็นก๊าซที่มีกลิ่นฉุนและไม่มีสี
แม้จะมีปริมาณเพียงน้อยนิดในอากาศก็สามารถจะรับกลิ่นได้
โดยจมูกมนุษย์ แต่ถ้าหากมีปริมาณมาก ๆ ในอากาศบริเวณ
นั้นและมีมนุษย์อาศัยอยู่ ก็จะเป็นอันตรายได้ ซึ่งระดับของ
ความอันตรายก็จะเป็นไปตามตารางด้านล่างนี้
ค่าที่น้อยกว่า 25 ppm.(ส่วนในล้านส่วนในอากาศ) จะสามารถรับกลิ่น
ได้โดยจมูกมนุษย์ ซึ่งค่านี้จะเป็นค่า Permissible Exposure Limit(PEL)
คือค่าความเข้มข้นของสาร ๆ หนึ่งที่จะสามารถยอมรับได้ที่จะให้สัมผัส
ตลอดระยะเวลาการทำงาน เช่นในเวลา 8 ชั่วโมง
ค่าแอมโมเนียในอากาศที่ประมาณ 30 ppm. จะเริ่มทำให้รู้สึกไม่สบาย
ตัว บางครั้งอาจจะต้องเริ่มมีกระบวนการในเรื่องเครื่องช่วยป้องกันระบบ
หายใจ ซึ่งที่ความเข้มข้นนี้แนะนำให้ไม่ควรสัมผัสเกินกว่า 15 นาที
ค่าแอมโมเนียในอากาศที่ประมาณ 50 ppm. ตรงนี้จะเป็นค่าสูงสุด
ที่ OSHA - Occupational Safety and Health Administration(หรือ
หน่วยงานหนึ่งของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ) กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่าคน
งานที่ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ความเข้มข้นนี้จะยอมให้สัมผัสได้
ค่าแอมโมเนียในอากาศที่ประมาณ 100 ppm. จะเริ่มรู้สึกแสบตา, คอ
หรือทางเดินหายใจ
ส่วนค่าแอมโมเนียในอากาศที่สามารถวัดได้สูงกว่านี้ในอากาศ หาก
มนุษย์เข้าไปอยู่ในบริเวณนี้หรือสัมผัส ก็จะให้ผลที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นดูได้จาก
ตารางครับ เช่น ค่าที่สูงเกินกว่า 1,700 - 15,000 ppm. มีผลให้เป็น
อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ซึ่งหากจะอยู่ในสถานที่ที่มีความเข้มข้นสูงขนาดนี้
ได้จำเป็นต้องมีเครื่องป้องกันร่างกายครบชุด และสุดท้ายแล้วแอมโมเนีย
ในอากาศที่สูงมาก ๆ เช่นเกินกว่า 160,000 ppm. ขึ้นไป จะสามารถ
ติดไฟในอากาศได้เลยที่อุณหภูมิในอากาศเพียงแค่ 50 องศาเซลเซียส
สนใจกระดาษวัดค่าแอมโมเนียในอากาศ แบบม้วน (ยาว
4.5 เมตร/กล่อง) ช่วงของค่าเทียบสี [0] [5] [10] [20]
[50] [100] ppm. ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596